ห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ที่ผู้บริหารไม่ควรลืมในการปฏิรูปการศึกษา | |||||||
ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวครั้งใหญ่ของครูอาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทั้งหลาย เพราะการศึกษาของประเทศจะต้องมีการปฏิรูป ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ไปสู่การจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม และจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงสุดเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาลักษณะของคนไทยที่ พึงปรารถนา คือ ดี เก่ง และมีความสุข ให้ปรากฏสัมฤทธิผล "ห้องสมุดโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่ง
เพื่อให้โรงเรียนมีห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้และส่งเสริมความสามารถในการอ่านของนักเรียนและประชาชนทั่วไปในชุมชนนั้น เพื่อให้ห้องสมุดเป็นแหล่งสำหรับครูใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยบางประการของนักเรียนในด้านรักการอ่าน การจัด การเก็บรักษาหนังสือ และการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ยังคาดหวังการบริหารงานในระบบกลุ่มโรงเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้จัด ให้มีห้องสมุดประจำศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนแต่เป็นที่น่าเสียดาย การดำเนินงานห้องสมุดกลุ่มโรงเรียนไม่ได้รับการเอาใจใส่ จนเรียกได้ว่าล้มเหลวไปแล้ว รวมทั้งโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่งก็ยังไม่สามารถสนองเจตนารมณ์ตามวัตถุ ประสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ ทั้งนี้มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น
สิ่งจำเป็นในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน ปัจจุบัน พบว่าผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาพยายามจัดให้มีห้องสมุดในโรงเรียนตามสภาพ โรงเรียนนั้นๆ บางแห่งซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ก็สามารถจัดได้ดีตามมาตรฐาน แต่ส่วนใหญ่ยังดำเนินงานห้องสมุดไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้เน้นเป็นนโยบาย เพียงจัดขึ้นมุมใดมุมหนึ่งหรือห้องใดห้องหนึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมหนังสือ เท่านั้น การบริการหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมกระตุ้นให้นักเรียนมาใช้ห้องสมุดยังไม่ได้ ผลเต็มที่ ดังนั้น โรงเรียนจึงควรดำเนินการดังนี้
บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมห้องสมุดโรงเรียน
สรุป จากการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การ ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โรงเรียนต้องจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะหนังสือแบบเรียนและคำสอนของครูในชั้นเรียนเท่านั้น ครูและนักเรียนจะต้องพยายามร่วมกันวางแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาส ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในครอบครัวชุมชน และท้องถิ่น ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นหัวใจของโรงเรียนก็คือห้องสมุด เพราะห้องสมุดเป็นศูนย์กลางของข้อมูลการเรียนการสอน เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาค้นคว้า เป็นศูนย์กลางแห่งความงดงามด้านจิตใจ และเป็นศูนย์กลางแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด โรงเรียนต้องพยายามจัดให้มีห้องสมุด ส่งเสริมและฝึกให้นักเรียนรู้จักค้นคว้า รักการอ่านจนเป็นนิสัย ความรู้และประสบการณ์ก็จะกว้างขวางขึ้น เพียงผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญห้องสมุดทัดเทียมกันหรือมากกว่าการ พัฒนาด้านวัตถุอื่นๆ ก็จะช่วยให้ห้องสมุดเจริญขึ้นได้ แทนที่จะหาเงินมาสร้างรั้วและป้ายชื่อโรงเรียนใหญ่โตราคาหลายแสนบาทได้แต่ ห้องสมุดกลับกลายเป็นมุมหนังสือเก่าๆ เต็มไปด้วยฝุ่น ขาดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กระตุ้นนักเรียนเข้ามาใช้ จึงควรหันมาให้ความสำคัญและอย่าลืมงานห้องสมุด ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา | |||||||
ที่มาข้อมูล : วารสารวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2546 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com/ |
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552
|
|
โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ผู้วิจัย อำนวย พุทธชาติ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ปีที่พิมพ์ 2551
บทคัดย่อ
รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 20 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินมาตรฐาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เอกสารแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 89.50/91.17
2. ความรู้ความเข้าใจของครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน หลังการดำเนินงานสูงกว่าก่อนการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางค่าสถิติที่ระดับ .01
3. โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มาตรฐานทุกโรงเรียน ได้มาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก 5 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 25 ได้มาตรฐานอยู่ในระดับดี 13 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 65 และได้มาตรฐานอยู่ในระดับ พอใช้ 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 10