วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ที่ผู้บริหารไม่ควรลืมในการปฏิรูปการศึกษา




ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวครั้งใหญ่ของครูอาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทั้งหลาย เพราะการศึกษาของประเทศจะต้องมีการปฏิรูป ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ไปสู่การจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม และจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงสุดเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาลักษณะของคนไทยที่ พึงปรารถนา คือ ดี เก่ง และมีความสุข ให้ปรากฏสัมฤทธิผล

โดยเฉพาะ การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการ ปฏิรูปการศึกษา ดังในมาตรา 24 ได้กำหนดกระบวนการเรียนรู้ว่า ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ สถานการณ์และประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งนี้ ผู้สอนผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย อีกทั้งในมาตรา 25 กำหนดบทบาทรัฐในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ โดยการส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอกชีวิต ทุกรูปแบบ อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ จึงกล่าวได้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญและสนองต่อการปฏิรูปการศึกษา เพราะห้องสมุดโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนและเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ที่มีการจัดประสบการณ์ทั้งมวลให้แก่เด็กตามการปฏิรูปการเรียนรู้ และหลักสูตรใหม่ คือ มุ่งให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ด้วยการค้นคว้าแสดงหาความรู้ เพื่อนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

"ห้องสมุดโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่ง
ของโรงเรียนและเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ที่มีการจัดประสบการณ์ทั้งมวลให้แก่เด็ก
ตามการปฏิรูปการเรียนรู้และหลักสูตรใหม่"


ความสำคัญของปัญหาห้องสมุด

ความ ต้องการห้องสมุดโรงเรียนมีมานานแล้วยิ่งในการปฏิรูปการเรียนรู้และในหลัก สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ความต้องการยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เพราะการปฏิรูปการเรียนรู้และหลักสูตรใหม่นี้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่ง เสริมให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทำงานเป็นกลุ่ม นำกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้มากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก็ได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้โรงเรียนมีห้องสมุดโดยจัดสรรงบประมาณเป็นค่าหนังสือแก่ห้องสมุด โรงเรียนทุกโรงเรียนและทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์สนับสนุนให้โรงเรียนมีห้องสมุด คือ

เพื่อให้โรงเรียนมีห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้และส่งเสริมความสามารถในการอ่านของนักเรียนและประชาชนทั่วไปในชุมชนนั้น

เพื่อให้ห้องสมุดเป็นแหล่งสำหรับครูใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น

เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยบางประการของนักเรียนในด้านรักการอ่าน การจัด การเก็บรักษาหนังสือ และการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ยังคาดหวังการบริหารงานในระบบกลุ่มโรงเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้จัด ให้มีห้องสมุดประจำศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนแต่เป็นที่น่าเสียดาย การดำเนินงานห้องสมุดกลุ่มโรงเรียนไม่ได้รับการเอาใจใส่ จนเรียกได้ว่าล้มเหลวไปแล้ว รวมทั้งโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่งก็ยังไม่สามารถสนองเจตนารมณ์ตามวัตถุ ประสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ ทั้งนี้มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น

    จำนวนห้องเรียนมีจำกัด ไม่สามารถจัดแบ่งห้องเรียนเพื่อจัดเป็นห้องสมุดได้

      โรงเรียนขาดวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดเก็บรักษาและวางหนังสือ

      โรงเรียนขาดบุคลากรหรือครูที่จะทำหน้าที่ดูแลห้องสมุด

      โรงเรียนไม่สามารถจัดหาหนังสือหรือสื่อ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อเสริมความรู้แก่นักเรียน

จาก ข้อจำกัดเหล่านี้เป็นเหตุให้การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนไม่เจริญก้าวหน้า เป็นเพียงสถานที่เก็บหนังสือเท่านั้น ขาดการกระตุ้นให้นักเรียนเข้าไปใช้ห้องสมุด ครูไม่ใช้ห้องสมุดให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน หนังสือมีน้อยไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขาดครูที่ทำหน้าที่โดยตรง แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาสำคัญถ้าผู้บริหารและครูทุกคนคำนึงถึงความ สำคัญของห้องสมุด

สิ่งจำเป็นในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน

ปัจจุบัน พบว่าผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาพยายามจัดให้มีห้องสมุดในโรงเรียนตามสภาพ โรงเรียนนั้นๆ บางแห่งซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ก็สามารถจัดได้ดีตามมาตรฐาน แต่ส่วนใหญ่ยังดำเนินงานห้องสมุดไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้เน้นเป็นนโยบาย เพียงจัดขึ้นมุมใดมุมหนึ่งหรือห้องใดห้องหนึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมหนังสือ เท่านั้น การบริการหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมกระตุ้นให้นักเรียนมาใช้ห้องสมุดยังไม่ได้ ผลเต็มที่ ดังนั้น โรงเรียนจึงควรดำเนินการดังนี้

  1. โรงเรียนควรมีห้องสมุดเป็นอาคารเอกเทศเป็นห้อง เป็นมุม อย่างใดอย่างหนึ่ง
  2. วัสดุครุภัณฑ์ที่สำคัญในห้องสมุด ควรมีหนังสือทั่วไป หนังสือภาพ การ์ตูน หนังสืออ้างอิง เช่น พจนานุกรม สารานุกรม วารสารสำหรับเด็ก จุลสารของหน่วยงานต่างๆ กฤตภาค ผลงานรวมเล่มของนักเรียน หนังสือพิมพ์บอร์ดจัดนิทรรศการ โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางหนังสือ บัตรรายการ วัสดุซ่อมหนังสือ
  3. บุคลากร ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติโดยสรุป คือ มีความรู้ทางบรรณารักษ์ศาสตร์ รักการทำงาน ห้องสมุด มีมนุษยสัมพันธ์ดี ควรมีอาสาสมัครซึ่งมาจากนักเรียน หรือ บุคคลในท้องถิ่นมาช่วยงานห้องสมุด

    "ห้องสมุดโรงเรียนมิใช่แต่เพียงเป็นสถานที่ที่จัดเก็บหนังสือ
    โดยเฉพาะหนังสือแบบเรียนหรือเพียงแต่จัดห้องสมุดให้สวย
    ไว้เพื่อดูสวยงามเป็นสิ่งประดับอย่างหนึ่งของโรงเรียนเท่านั้น
    แต่ห้องสมุดจะต้องเป็นแหล่งที่จะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ"

  4. กิจกรรมที่ห้องสมุดควรจัด ได้แก่ เล่านิทาน เล่าเกร็ดความรู้ ละคร เกม ทายปัญหา แนะนำหนังสือ ทำหนังสือ จัดนิทรรศการ แนะนำงานอดิเรก จัดมุมสบาย ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้จัดตามโอกาส ต่างๆ หรือจัดเป็นประจำตามกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น จัดในช่วงพักกลางวันของวันใดวันหนึ่งทุกสัปดาห์
  5. งานบริการ เช่น เปิดบริการให้ยืมแก่นักเรียน เอื้อเฟื้อแก่บุคคลในชุมชน งานประชาสัมพันธ์ห้องสมุดทั้งในและนอกโรงเรียน
ห้อง สมุดโรงเรียนจึงมิใช่แต่เพียงเป็นสถานที่ที่จัดเก็บหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือแบบเรียน หรือเพียงแต่จัดห้องสมุดให้สวยไว้เพื่อดูสวยงามเป็นสิ่งประดับอย่างหนึ่ง ของโรงเรียนเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะต้องเป็นแหล่งที่จะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ มีเนื้อที่ ทรัพยากร ครุภัณฑ์ และกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการใช้ มีสภาพแวดล้อมในการเชิญชวนนักเรียนมาใช้ โดยเฉพาะกิจกรรมห้องสมุดและการบริการอันเป็นหัวใจของงานห้องสมุด

บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมห้องสมุดโรงเรียน


ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้งานห้องสมุดก้าวหน้าไปได้ด้วยดีจึงควรมีบทบาทพอสรุปได้ดังนี้

  1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการจัดห้องสมุดโรงเรียนและมุมหนังสือ
  2. เน้นความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนว่าเป็นเสมือนหัวใจของงานวิชาการ การปฏิรูปการเรียนรู้
  3. จัดบุคลากรเข้าทำงานอย่างเหมาะสม เพราะครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ก็เป็นตัวจักรสำคัญถึงแม้ว่าผู้บริหารจะให้ การสนับสนุนอย่างดี แต่ถ้าครูบรรณารักษ์ขาดคุณภาพ ใจไม่รักงานห้องสมุดไม่มีความสามารถจัดกิจกรรมงานห้องสมุดได้โรงเรียนนั้น ก็ประสบความล้มเหลวในการดำเนินงานได้เช่นกัน
  4. ให้การสนับสนุนทางการเงิน
  5. สนับสนุนในเรื่องการจัดหาสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ และอื่นๆ ตามสภาพของห้องสมุด
  6. สนับสนุนการจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุด
  7. เป็นที่ปรึกษาแก่คณะทำงานห้องสมุดและครูทำหน้าที่บรรณารักษ์
  8. นิเทศและติดตามผลการปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียนเป็นระยะๆ
ห้อง สมุดโรงเรียนจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้ง ไว้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียนว่าได้ให้ความสำคัญ ให้ความสนใจ ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ นิเทศและติดตามงานห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

สรุป

จากการปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การ ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โรงเรียนต้องจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะหนังสือแบบเรียนและคำสอนของครูในชั้นเรียนเท่านั้น ครูและนักเรียนจะต้องพยายามร่วมกันวางแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาส ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในครอบครัวชุมชน และท้องถิ่น

ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นหัวใจของโรงเรียนก็คือห้องสมุด เพราะห้องสมุดเป็นศูนย์กลางของข้อมูลการเรียนการสอน เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาค้นคว้า เป็นศูนย์กลางแห่งความงดงามด้านจิตใจ และเป็นศูนย์กลางแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด โรงเรียนต้องพยายามจัดให้มีห้องสมุด ส่งเสริมและฝึกให้นักเรียนรู้จักค้นคว้า รักการอ่านจนเป็นนิสัย ความรู้และประสบการณ์ก็จะกว้างขวางขึ้น เพียงผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญห้องสมุดทัดเทียมกันหรือมากกว่าการ พัฒนาด้านวัตถุอื่นๆ ก็จะช่วยให้ห้องสมุดเจริญขึ้นได้ แทนที่จะหาเงินมาสร้างรั้วและป้ายชื่อโรงเรียนใหญ่โตราคาหลายแสนบาทได้แต่ ห้องสมุดกลับกลายเป็นมุมหนังสือเก่าๆ เต็มไปด้วยฝุ่น ขาดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กระตุ้นนักเรียนเข้ามาใช้ จึงควรหันมาให้ความสำคัญและอย่าลืมงานห้องสมุด

ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา
ที่มาข้อมูล : วารสารวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2546
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com/
ชื่อเรื่อง



รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

ผู้วิจัย อำนวย พุทธชาติ

หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเอกสารแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัย รักการอ่าน เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านก่อนและหลังการดำเนินงาน เพื่อศึกษามาตรฐานการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียน แกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้รับผิดชอบ การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 20 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินมาตรฐาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เอกสารแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

ผลการศึกษาพบว่า

1. ประสิทธิภาพของเอกสารแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 89.50/91.17

2. ความรู้ความเข้าใจของครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน หลังการดำเนินงานสูงกว่าก่อนการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางค่าสถิติที่ระดับ .01

3. โรงเรียนแกนนำส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้มาตรฐานทุกโรงเรียน ได้มาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก 5 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 25 ได้มาตรฐานอยู่ในระดับดี 13 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 65 และได้มาตรฐานอยู่ในระดับ พอใช้ 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 10

4. ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

พระราชินีพระราชทานชื่อ “หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน”

Rate This
Quantcast

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อ “หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน” แก่ ศธ.ในงาน “รักการอ่าน เทิดมหาราชินี” จัดพร้อมกันที่ สพท.เขต 1 ทั่วประเทศ 14-16 ส.ค.นี้ …

วันนี้ (11 ส.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม.ว่า ตามที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่ง ศธ.จะได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่านขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านในเด็กและเยาวชนไทย ดังนั้น ศธ.จะได้จัดงาน “รักการอ่าน เทิดมหาราชินี” โดยจะเป็นการจัดกิจกรรมพร้อมกันทุกจังหวัด ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เขต 1 ของแต่ละจังหวัด สำหรับในส่วนกลางจะจัดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่น ฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00- 20.00 น.โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งจะได้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ด้วย

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อ “หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน” มายัง ศธ.เพื่อเผยแพร่และส่งเริมให้เกิดการอ่านโดยทั่วไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่กระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่าง ยิ่ง สำหรับรายชื่อหนังสือดังดีเด่น 6 เรื่อง ที่เด็กควรอ่าน ตามพระราชวิจารณ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ พระอภัยมณี, รามเกียรติ์, นิทานชาดก, อิเหนา, พระราชพิธีสิบสองเดือน, กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)

ทั้งนี้ ในส่วนกิจกรรมนั้นจะ ประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการ “6 หนังสือดีเด่นที่เด็กไทยควรอ่าน” และ “10 กลวิธีสร้างนิสัยรักการอ่าน” ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม แรลลี่การอ่าน เวทีเยาวชนรักการอ่าน เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดจำหน่ายหนังสือดีในราคาประหยัด ซึ่งเป็นความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ในวันดังกล่าว …

(จาก นสพ. ผู้จัดการ)

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สพท.บุรีรัมย์ 4 เขต จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

พิมพ์ อีเมล


วันที่ 14 สิงหาคม 2552 นายพินิจ บุญเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เป็นประธานในพิธี "งานสัปดาห์ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน" สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ ทั้ง 4 เขต นำโดยนายณรงค์ แผ้วพลสง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีมย์เขต 1 ณ โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งการดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ดำเนินงาน พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 14 -16 สิงหาคม 2552 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษา 12 สิงหาคม 2552 โดยจัดให้มีกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติด้านการส่งเสริมการศึกษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2. การประกวด แข่งขัน การแสดงผลงาน สาธิตกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักเรียน ครู สถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
3. ชมนิทรรศการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และห้องสมุด
4. ประชุมอบรมสัมนาการส่งเสริมการอ่าน และห้องสมุด
5. ชมการถ่ายทอดสดพิธีเปิดพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 14 สิงหาคม 2552 เวลา 10.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
6. ชมและหาซื้อหนังดี ที่ถูกใจ ในตลาดนัดหนังสือ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ได้ทำการคัดเลือกโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง และโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม เข้า่ร่วมจัดนิทรรศการ และมีพิธีมอบโล่รางวัลรักการอ่านจากประธานในพิธี... [หนังสือราชการ]

[ข่าวที่เกี่ยวข้องจาก สพฐ.] [ข่าวที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงศึกษาธิการ]


พิธีกร ศน.ศราวุธ โรจนาวรรณ สพท.บร. เขต 1

นร.ที่เข้าร่วมกิจกรรม

การแสดงวงดนตรีไทย

ผอ.ณรงค์ แผ้วพลสง ผอ.สพท.บร. เขต 1 กล่าวรายงาน

ศน.สพท.บุรีรัมย์ เขต 1

คณะครู จากสพท.บุรีรัมย์ เขต 4 (เสื้อดำ ผอ.วิรัช ปัญญาวนิชกุล)

รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานในพิธี

มอบโล่ดีเด่นใหักับโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง

มอบโล่การจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน ให้กับร.ร.นาโพธิ์พิทยาคม

ผู้บริหาร/ตัวแทนที่เข้ารับรางวัลกิจกรรมส่งเสริม การอ่านดีเด่น

การแสดงของโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์

การแสดงของโรงเรียนฮั่วเคี้ยว

ศน.อำนวย พุทธชาติ/รองผอ.ปิยเชษฐ์ จันภักดี/ รองผอ.วิบูลย์ศักดิ์ ฯ

ศน.สพท.บุีรีรัมย์ เขต 1

นร.โรงเรียนอนุบาลพุทไธสง (โอภาสประชานุกูล)

นร.ที่เข้าร่วมกิจกรรม

เยี่่ยมชมการจัดนิทรรศการของโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง




่ข่าว/ภาพ : ศน.ถาวร พอสม ชมรม ICT (เครือข่ายคุรุสภา 572)

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทัศนศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิต

พิมพ์ อีเมล

...สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จัดทัศนศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิต เพื่อนำเอาความรู้และประสบการณ์ตรงได้รับมาประยุกต์ใช้พัฒนาการจัดกิจกรรม ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและห้องสมุด ระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2552 ณ โรงเรียนพลิ้วและโรงเรียนวัดตะปอนน้อย สพท.จันทบุรี เขต 2 ผู้ที่เข้าร่วมตามโครงการดังกล่าวเป็นผู้บริหารหรือบรรณารักษ์โรงเรียนที่ ได้รับกาีรคัดเลือกในระดับกลุ่มโรงเรียนที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบ โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน นำโดย รองผอ.ทองสุก เกลี้ยงพร้อมและ มีศน.อำนวย พุทธชาติ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ภาพกิจกรรม



ศึกษาดูงานร.ร.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ สพท.จันทบุรี เขต 2

คณะครูที่ร่วมศึกษาดูงาน (ใครเป็นใครคงคุ้นหน้ากัน)

อ.นวลฉวี วงษ์สมบัติ ร.ร.บ้านกระสัง

ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ร่วมกับผอ.ภัทรีญา หงษ์ศิริ

ผู้บริหารสังกัดสพท.บร.4

รองผอ.ทองสุก เกลี้ยงพร้อม มอบของที่ระลึกโดย ผอ.ร.ร.รับมอบ

ศึกษาป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่

ศึกษาป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่

ร.ร.วัดตะปอนน้อย อ.ขลุง จ.จันทบุรี

สมาชิกชมรม ICT 572

ฟังคำบรรยายการนำเสนองาน

ห้องสมุดของโรงรียน

ชมการแสดงปลาโลมาที่โอเอซีส ซีเวิลด์ อ.แหลมสิงห์

ชมการแสดงปลาโลมาที่โอเอซีสซีเวิลด์ อ.แหลมสิงห์

ข่าว /ภาพ : อ.นวลฉวี วงษ์สมบัติ/อ.กุลธิดา อุ่นคำ (สมาชิกชมรม ICT572)

ศธ.ชง ครม.ส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ

ศธ.ชง ครม.ส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ

ศธ.เตรียมชง ครม.ส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้ 2 เม.ย.เป็นวันรักการอ่าน ให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ด้าน “ว.วชิรเมธี” เสนอกำหนดทศวรรษการอ่านเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลจะต้องสานต่อ ระบุอ่านหนังสือดี สำคัญกว่าภาษาวิบัติ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวว่า จากการประชุมได้สรุปว่า จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยจะกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาคติ กำหนดให้วันที่ 2 เม.ย. เป็นวันรักการอ่าน และกำหนดให้ปี 2552 ถึง 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นรูป ธรรมต่อไป

นายจุรินทร์กล่าวว่า ถัดจากนี้ไปจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการออกเป็น 3.ส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 1.เพิ่มขีดความสามารถทางด้านการอ่าน 2.ยุทธศาสตร์สร้างนิสัยรักการอ่าน 3.ยุทธศาสตร์เป็นการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งส่งเสริมการอ่าน ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์จะมีรายละเอียดและแผนการปฎิบัติออกมาในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนให้ความสนใจการอ่านเรื่องใกล้ตัว “ส่งเสริมการอ่านเพื่อชีวิต” เช่น การอ่านฉลากสินค้า อุปโภคบริโภค เป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องสำคัญ การรณรงค์ให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนสนใจเรื่องการอ่านมากขึ้นช่วงปิดภาคเรียน ภายใต้โครงการ Summer read โดยให้เด็กอ่านหนังสือตามความชอบ

ส่วน เป้าหมายสำคัญเราต้องการมุ่งเน้นส่งเสริมให้คนไทยได้เริ่มอ่านหนังสือ แต่วัยเด็ก เพราะผลการสำรวจวิจัยพบว่าถ้ารักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวไปตลอดชีวิต แต่ประเด็นสำคัญจะต้องคิดค้นหาวิธีจูงใจว่าจะทำอย่างไรให้เด็กหันอ่าน หนังสือมากขึ้น มุ่งเน้นอ่านหนังสือที่เด็กชอบและตามความสนใจของแต่ละบุคคลพร้อมกันนี้ควร มีการสร้างแรงจูงใจ มีรางวัล หากอ่านได้ในระดับ ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้ ถ้าหากเด็กไทยหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศในทิศทางที่ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะ 10 ปีที่เราส่งเสริมให้เป็นทศวรรษในการอ่าน

นอกจากพัฒนาแหล่ง เรียนรู้ ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุด 3 ดีสัญจร การพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพ เช่นหนังสือดี หนังสือมีคุณภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการสร้างส่วนร่วมและมีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่นชุมชนรักการอ่าน ชมรมรักการอ่าน ชุมชนนักอ่าน ภาคีเครือข่าย HOPE หรือ (HOME, OFFICE,PUBLIC,EDUCATIONAL INSTITUTION) คือ บ้าน ที่ทำงาน ที่สาธารณะ และสถานศึกษา ที่จะต้องสร้างบรรยากาศส่งเสริมรักการอ่าน และร่วมมือกัน สำหรับงบประมาณจะมีทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะขอความร่วมมือจากภาคเอกชน เพราะต้องรณรงค์ในวงกว้าง ไม่เช่นนั้นจะเป็นวาระแห่งชาติไม่ได้

นาย จุรินทร์กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการรู้หนังสือของคนไทย อยู่ในระดับที่ไม่ได้ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น อัตราการรู้หนังสือของไทย 92.64% และอัตราการเข้าเรียนต่อถือว่าใช้ได้ แต่ประเด็นปัญหาคนไทย อ่านหนังสือน้อย

ด้าน พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี ) กล่าวว่า อาตมาเสนอต่อที่ประชุมให้รัฐบาลส่งเสริมให้เกิดทศวรรษแห่งการอ่าน เพื่อทำให้ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็ง เดิมมีการส่งเสริมเป็นวาระแห่งชาติ หรือปีแห่งการอ่าน พอเปลี่ยนรัฐบาลทีไรก็ไม่มีใครสนใจ จึงเสนอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้เป็นวาระผูกพัน ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล จะต้องทำการอ่านของคนไทยให้เป็นวัฒนธรรมให้ได้

“หาก คนไทยรักการอ่าน ความสามารถในการใช้ภาษาไทยจะเพิ่มพูนขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่ออ่านหนังสือหลายประเภท ก็จะเรียนรู้วิธีใช้ภาษาไทยให้ไพเราะ แต่ต้องอ่านหนังสือที่ใช้ภาษาไทยได้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่าภาษามีวิวัฒนาการ เช่น คำว่า “ชู้” พัฒนาเป็น “กิ๊ก” เป็น “กั๊ก” และก็เห็นว่าพัฒนาเป็น “ควิก” อย่าเพิ่งตกใจถ้าภาษาจะวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ การอ่านหนังสือที่ดี สำคัญยิ่งกว่าการเป็นห่วงว่าภาษาไทยจะวิบัติ อย่าลืมว่าภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร ถ้าสื่อสารสัมฤทธิผลแสดงว่าใช้ได้”พระมหาวุฒิชัย กล่าว

ที่มา - ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2552 15:44 น

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อุดมการณ์ งาน และความหวัง

ภายใต้ร่มเงาของ สพท.บร. 4 ที่ซึ่งคนจากหลายอำเภอมารวมกัน ผมเชื่อว่า ด้วยความดีงาม อุดมการณ์ เราสามารถสร้าง สพท.บร.4 ที่เปี่ยมไปด้วยความหวังมากกว่านี้ได้ ความหวังคือสิ่งซึ่งอยู่ในใจของเราที่จะยืนหยัดว่า ไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่เราเห็นจะเป็นอย่างไร ยังมีบางอย่างที่ดีกว่ารอเราอยู่ ถ้าเรากล้าที่จะไขว่คว้า บากบั่นและต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา

ถึงเวลาแล้วที่เราจะมองข้ามการเลือกข้าง ความแตกแยก และมุ่งสร้างจุดร่วม และแนวทางแก้ปัญหา ที่เป็นไปได้จริง ถึงเวลาแล้วที่จะตอกย้ำศรัทธาของเราในคุณค่าของการทำงานหนัก การเสียสละ ความเป็นธรรมและโอกาสที่เสมอภาคสำหรับทุกคน

สิ่งที่ผมตระหนักดีก็คือ ชีวิตไม่มีค่าหากเราไม่ยินดีทำสิ่งเล็กๆ ในส่วนของเราไว้ เพื่อการศึกษาที่ดีขึ้น สำหรับลูกหลานของเราในอนาคต แม้จะเป็นเรื่องยาก แม้ภาระนี้จะใหญ่หลวง แต่สิ่งที่คอยนำทางให้เรา คือความศรัทธา ในพลังของเรา ถ้าเราทำงานร่วมกันภายใต้พันธสัญญาที่เราต่างมีส่วนร่วม และจิตวิญญาณที่ัมั่่นคง...ด้วยความเชื่อมั่นว่า...เราทำได้

คาราวะจากใจ

อำนวย พุทธชาติ


ห้่องสมุด 3 ดี



ดี 1 หนังสือและสื่อการเรียนรู้ดีี
ด ี2 บรรยากาศและสถานที่ดี
ดี 3 บรรณารักษ์และกิจกรรมดี
คลิ๊กดูรายละเอียดhttp://school.obec.go.th/techno/firt_sp2/